ความสำคัญของแบบพิมพ์
- เพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบการลงบัญชี
- เพื่อเป็นหลักฐานอ้างอิง
- เพื่อเป็นเครื่องมือจัดระเบียบการปฏิบัติงาน
- เป็นเครื่องมือในการควบคุมภายใน
หลักเกณฑ์ในการกำหนดลักษะแบบพิมพ์
- ควรมีขนาดกระทัดรัด
- จำนวนของแบบพิมพ์ให้มีจำนวนเหมาะสม
- ชื่อแบบพิมพ์ให้มีความหมายชัดเจน
- อำนวยความสะดวกในการเก็บรักษา เพื่อนำมาใช้อ้างอิง
- แบบพิมพ์บางแบบต้องเรียงลำดับหน้ากำกับ เพื่อป้องกันการทุจริต
- พิมพ์ตัวอักษรให้อ่านง่าย
- ต้องมีคู่ฉบับเพียงพอ
- ข้อความชัดเจน
- เรียงลำดับความสำคัญของข้อความ
- การจัดข้อความและตัวเลข ตามความสำคัญและเหมาะสม
- เว้นเนื้อที่กรอกข้อความให้เพียงพอ
- กรณีที่ออกแบบพิมพ์ที่ใช้กับงานหลายงาน ที่เกี่ยวข้องให้ร่างในลักษณะให้สอบยันกันได้เป็นการควบคุมภายใน
แบบพิมพ์ที่ใช้ในธุรกิจทั่วไปและใช้ในระบบบัญชี
- แบบพิมพ์ที่ได้รับจากภายนอก
- แบบพิมพ์ที่ใช้เองในองค์กร
- แบบพิมพ์สมุดบัญชี ทะเบียนและบัตร
- แบบพิมพ์รายงาน
การพิจารณาชนิดของกระดาษ เพื่อใช้ทำแบบพิมพ์และสมุดบัญชี
- สมุดบัญชี หรือเอกสารประกอบการบันทึกบัญชี ที่ต้องเก็บรักษาไว้เป็นเวลานานควรเลือก กระดาษที่มีคุณภาพดี ทนทาน
- สมุดหรือเอกสารที่ต้องผ่านเจ้าหน้าที่หลายคน ควรใช้กระดาษที่หนาและทนทาน
- ฉบับตัวจริงควรหนากว่าสำเนาหากมีสำเนาหลายสำเนา กระดาษมีลักษณะบาง เพื่อให้ ข้อความชัดเจน
- เอกสารแบบพิมพ์ขนาดเล็กสามารถใช้กระดาษบางกว่าแบบพิมพ์ขนาดใหญ่หรือสมุดบัญชี
วิธีการควบคุมแบบพิมพ์
- ควรพิมพ์เรียงลำดับแผ่นไว้ล่วงหน้า เพื่อป้องกันการทุจริต
- เอกสารประกอบการลงบัญชี ควรกำหนดเลขที่โดยเรียงลำดับวันที่ที่บันทึกในสมุดบันทึกรายการ ขั้นต้น
การเก็บรักษาเอกสารแบบพิมพ์
- แบบพิมพ์และเอกสารทางการบัญชีที่ยังไม่ได้ใช้ ควรแต่งตั้งเจ้าหน้าที่จัดเก็บและควบคุมการเบิกไปใช้โดยเฉพาะ
- แบบพิมพ์เอกสารทางการบัญชีที่ใช้แล้ว ให้เก็บรักษาตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด