คลอดแล้ว !! มาตรการลดหย่อนภาษีเพื่อสนับสนุนการมีบุตร

วันที่ 15 พฤศจิกายน 2018
  5,214 views

inage3

โดยที่ประเทศไทยมีอัตราการเกิดของประชากรลดลง อันเป็นผลจากประชากรมีอายุที่ยืนยาวมากขึ้น ทำให้มีจำนวนประชากรผู้สูงอายุ (อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป) เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ประชากรวัยเด็กและวัยแรงงานมีจำนวนลดลงอย่างต่อเนื่อง และจากข้อมูลการประมาณการประชากรไทย ปี 2553-2583 ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ คาดว่าประเทศไทยอาจจะต้องเผชิญกับภาวะที่จำนวนประชากรทั้งประเทศลดลงหลังจากปี 2569 เป็นต้นไป และจะก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมสูงวัยที่มีสัดส่วนของประชากรผู้สูงอายุถึงร้อยละ 30 ในปี 2579

หลักเกณฑ์การลดหย่อนบุตรคนที่สองเป็นต้นไป

1. เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฏหมาย
2. เป็นบุตรคนที่ 2 เป็นต้นไปและเกิดในหรือหลังปี พ.ศ.2561
3. หักลดหย่อนเพิ่มอีกคนละ 30,000 บาท เป็น 60,000 บาท
4. การนับลำดับบุตร นับลำดับของบุตรทุกคนไม่ว่าจะมีชีวิตอยู่หรือไม่ก็ตาม

อธิบายเพิ่มเติม : ถ้าคุณมีลูกก่อนปี พ.ศ.2561 จะมีสิทธิหักลดหย่อนได้ คนละ 30,000 บาท (ไม่ว่าจะกี่คนก็ตาม) ถ้ามีบุตรคนแรกในปี พ.ศ.2561 มีสิทธิหักลดหย่อน 30,000 บาท และลดหย่อนค่าฝากครรภ์ คลอดบุตร อีกไม่เกิน 60,000 บาท แต่ถ้าเป็นบุตรคนที่สองที่เกิดหรือหลังในปี พ.ศ.2561   มีสิทธิหักค่าลดหย่อนได้ 60,000 บาท และลดหย่อนค่าฝากครรภ์ คลอดบุตร ได้อีกไม่เกิน 60,000 บาท

info-kids2

สำหรับค่าใช้จ่ายในการฝากครรภ์ คลอดบุตร การนำมาหักลดหย่อน ต้องเป็นไปตามเกณฑ์ดังนี้

  1. กรณีสามีหรือภริยามีเงินได้ฝ่ายเดียว ให้ยกเว้นภาษีเงินได้แก่สามีหรือภริยาซึ่งเป็นผู้มีเงินได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 60,000 บาท
  2. กรณีสามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้
    2.1 แยกยื่นภาษี ให้ภริยาได้รับยกเว้นภาษีเงินได้เต็มจำนวนตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 60,000 บาท
    2.2 ยืนภาษีรวมกัน โดยถือเอาเงินได้พึงประเมินของตนเป็นเงินได้ของสามีหรือภริยาอีกฝ่ายหนึ่ง ให้ผู้มีเงินได้ได้รับยกเว้นภาษีตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 60,000 บาท
  3. กรณีที่ผู้มีเงินได้หรือคู่สมรสจ่ายค่าฝากครรภ์คลอดบุตร แต่คนละปีภาษี (ฝากครรภ์ปี พ.ศ.2561 แต่คลอดปี 2562) ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงในแต่ละปีภาษี แต่เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 60,000 บาท เช่น ปี พ.ศ. 2561 ใช้หักลดหย่อนไป 40,000 บาท ในปี พ.ศ. 2562 จะมีสิทธิหักค่าลดหย่อนได้ไม่เกิน 20,000 บาท เป็นต้น
  4. กรณีที่มีค่าใช้จ่ายในการฝากครรภ์คลอดบุตรหลายครั้งในปีเดียวกัน ให้นำค่าใช้จ่ายเหล่านั้นมารวมได้ แต่ต้องไม่เกิน 60,000 บาท เช่น มีบุตรคนแรกเดือนมกราคม และมีบุตรอีกคนเดือนธันวาคม ในปี พ.ศ.เดียวกัน ก็จะได้ใช้สิทธิลดหย่อนรวมกันได้ แต่ไม่เกิน 60,000 บาท

 

child2

อ้างอิง ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร ฉบับที่ 331