จากการที่สังคมไทยเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ หลังจากเกษียณอายุแล้วมักจะอยู่กับญาติและครอบครัวทั้งที่มีความสามารถและยังปฏิบัติงานได้
ม.มหิดล ได้ทำการศึกษา “ดัชนีผู้สูงอายุ” (Ageing Index) ของประเทศไทย เพื่อเปรียบเทียบระหว่างจำนวนเด็กกับผู้สูงอายุ ดัชนีผู้สูงอายุ เป็นอัตราส่วนของจำนวนประชากรสูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) ต่อจำนวนประชากรวัยเด็ก (อายุต่ำกว่า 15 ปี) 100 คนตามความหมายนี้ ดัชนีผู้สูงอายุแสดงให้เห็นว่ามีผู้สูงอายุกี่คนต่อเด็ก 100 คน ถ้าดัชนีมีค่าต่ำกว่า 100 แสดงว่ามีเด็กมากกว่าผู้สูงอายุและในทางกลับกัน ถ้าดัชนีมีค่าสูงกว่า 100 ก็แสดงว่ามีผู้สูงอายุมากกว่าเด็ก
ตาราง 1 ดัชนีผู้สูงอายุของประเทศไทย พ.ศ. 2548 – 2578
จากตาราง แสดงแนวโน้มของดัชนีผู้สูงอายุตั้งแต่ปี พ.ศ.2548 เพิ่มสูงขึ้นมาตลอด และในปี พ.ศ.2564 จะมีผู้สูงอายุจะมากกว่าเด็กที่เกิดใหม่ ผลที่ตามมาคือ รัฐจะต้องให้การดูแลประชากรกลุ่มนี้เพิ่มขึ้น ดังนั้นเพื่อให้ประชากรกลุ่มนี้ได้มีโอกาสสร้างประโยชน์ให้กับสังคม และไม่ต้องเป็นภาระกับลูกหลาน ทางกรมสรรพากรจึงได้ให้สิทธินิติบุคคลที่รับพนักงานที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปเข้าทำงาน และสามารถหักเป็นค่าใช้จ่ายได้ 2 เท่า โดยมีเงื่อนไขดังนี้
– ผู้ว่าจ้างต้องเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
– จ้างงานผู้สูงอายุที่มีอาบุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
– ผู้สูงอายุเป็นลูกจ้างของบริษัทอยู่ก่อนแล้วหรือขึ้นทะเบียนกับกรมการจัดหางาน
– ค่าจ้างผู้สูงอายุเฉพาะรายที่จ่ายไม่เกินเดือนละ 15,000 บาท
– เฉพาะรายจ่ายจากการจ้างผู้สูงอายุในส่วนที่ไม่เกิน 10% ของจำนวนลูกจ้างทั้งหมด
– ต้องไม่เป็นและไม่เคยเป็นกรรมการหรือผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ที่จ้าง หรือบริษัทฯ ในเครือ
– ถ้าผู้สูงอาบุทำงานหลายแห่ง ให้บริษัทฯ ที่รับงานก่อนได้รับสิทธิ
– ใข้สิทธิได้ตั้งแต่รอบฯ ที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 ม.ค. 59 เป็นต้นไป
โดยผู้ว่าจ้างจะต้องแจ้งสิทธิจ้างงานผู้สูงอายุก่อนบนเว็บไซด์ของกรมสรรพากรภายใน 150 วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีจึงจะได้สิทธิ์ในการหักเป็นค่าใช้จ่ายได้ 2 เท่า
https://www.rd.go.th/publish/fileadmin/user_upload/kormor/newlaw/dg290.pdf