หน้าแรก Support | EASY-ACC Knowledge Base   
Menu

คำแนะนำในการออกแบบรหัสสินค้า

 

วิธีการเริ่มต้นออกแบบรหัสสินค้า

 
ในระบบคอมพิวเตอร์ หากจะใช้ชื่อสินค้าโดยตรงเพื่อเรียกใช้งาน จะไม่สะดวกนัก อีกทั้งการลำดับสินค้าที่ต้องการให้เป็นหมวดหมู่เดียวกัน ย่อมทำให้เกิดความสับสน เพื่อให้เกิดความสะดวกชื่อของสินค้าต่างๆ จึงมักนิยมที่จะใช้ ”รหัสสินค้า” แทนชื่อของสินค้านั้นๆ โดยการกำหนดรหัสสินค้าจะต้องมีลักษณะดังนี้ :
 
  1. สามารถแสดงคุณสมบัติของสินค้าที่ต้องการได้อย่างเด่นชัด เช่น จากบริษัทผู้ผลิต, ขนาดของสินค้า, ลักษณะของสินค้า เป็นต้น
  2. รหัสที่ออกแบบ จะต้องสามารถรองรับสินค้าใหม่ๆ ที่จะเพิ่มเติมได้ในอนาคต โดยรหัสจะอยุ่ในกลุ่มของสินค้าเดิมที่เคยมีมาอยู่ก่อนแล้ว
  3. ควรใช้ตัวเลขในการออกแบบรหัส เนื่องจากสามารถที่จะทราบถึงการเรียงลำดับของสินค้าได้อย่างชัดเจน และสินค้าทุกตัวจะต้องมีความยาวของรหัสเท่ากันทั้งหมด
  4. สำหรับการออกแบบรหัสสินค้าในโปรแกรม EASY-ACC รหัสสินค้า จะต้องมีความยาวไม่เกิน 13 หลัก
  5. การออกแบบรหัส จะต้องคำนึงถึงความเหมาะสมของแต่ละกิจการ ไม่จำเป็นว่าจะต้องนำรหัสสินค้าของผู้ผลิตมาใช้ในกิจการ เพราะรหัสดังกล่าว อาจจะเป็นรหัสที่เหมาะสมสำหรับผู้ผลิตฝ่ายเดียวเท่านั้น หากนำรหัสนั้นมาใช้งาน บางครั้งอาจเกิดปัญหาในกรณีไปซ้ำกับผู้ผลิตรายอื่น
 

ตัวอย่าง

 
บริษัท เจริญดีการค้า จำกัด ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับอะไหล่รถยนต์หลายยี่ห้อ การออกแบบรหัส มีจุดประสงค์ที่จะให้จัดแบ่งรหัสสินค้าตามยี่ห้อรถ, รุ่น, ส่วนประกอบต่างๆ เมื่อได้วัตถุประสงค์แล้ว จึงนำมาออกแบบรหัสดังนี้
 
  • จัดแบ่งยี่ห้อรถ จะใช้รหัสจำนวน 2 ตัว เพื่อแทนชื่อยี่ห้อรถ
  • จัดแบ่งรุ่นของรถยนต์ และปีที่รถยนต์ออกจำหน่าย จะใช้รหัส 3 ตัวแรกแทนรุ่นของรถยนต์แต่ละยี่ห้อ และอีก 2 ตัวแทน ปี คศ.
  • ชื่ออะไหล่ จะใช้รหัส 4 ตัวแทนชื่อของอะไหล่
  • ลักษณะของอะไหล่ เช่น สี. ด้านซ้าย, ด้านขวา เป็นต้น จะใช้รหัส 2 ตัวแทนลักษณะ รวมความยาวของรหัสทั้งสิ้น เท่ากับ 13 หลัก จากนั้นเราก็นำรหัสในแต่ละกลุ่มมาแจกแจงรายละเอียดดังนี้
 
ยี่ห้อรถยนต์
 
01 โตโยต้า
02 นิสสัน
03 มิซูบิชิ
 
รุ่นของรถยนต์
 
  • รถยนต์โตโยต้า จะขึ้นต้นรหัสด้วย “0” ได้แก่ 001 แคมรี่, 002 อัลติส, 003 ฟอร์จูนเนอร์
  • รถยนต์นิสสันจะขึ้นต้นด้วย “1”ได้แก่ 101 มาร์ช, 102 อัลมีร่า, 103 เทียน่า
  • รถยนต์มิซูบิชิจะขึ้นต้นด้วย “2”ได้แก่ 201 แลนเซอร์, 202 มิราจ, 203 ปาเจโร
 
ชื่ออะไหล่
 
  • ขึ้นต้นด้วย 0 จะเป็นช่วงล่างรถยนต์ทั้งหมด เช่น 0001 เบรคหน้า, 0002 เบรคหลัง, 003 โชคอัพ
  • ขึ้นต้นด้วย 1 จะเป็นอะไหล่ของเครื่องยนต์ทั้งหมด เช่น 1001 ไส้กรองน้ำมันเครื่อง, 1002 ไส้กรองน้ำมัน
 
ลักษณะของอะไหล่
 
00 ไม่ระบุ
01 ข้างซ้าย
02 ข้างขวา
 
จากตัวอย่างเราจะเห็นได้ว่า รหัสได้ถูกกำหนดอย่างลงตัว และเมื่อทำการแจกแจงรายละเอียดของรหัสแต่ละกลุ่มแล้ว เราก็นำรหัสเหล่านั้นมารวมกัน เช่น
 
0100278000101 หมายความว่า เบรคหน้าข้างซ้ายของรถยนต์โตโยต้าโคโลน่าปี 78
0320190100100 หมายความว่า ไส้กรองน้ำมันเครื่องของรถมิซูบิชิแชมป์ปี 90
 
การออกแบบรหัสในลักษณะนี้จะเรียงตามยี่ห้อรถเป็นหลัก หากต้องการเรียงตามปีรถก็เพียงแต่เอาปี คศ.ของรถมาไว้ข้างหน้าแทน และรหัสที่ออกแบบนั้นก็สามารถรองรับชนิดของอะไหล่ได้สูงถึง 10000 ชนิดของแต่ละยี่ห้อ ซึ่งก็เพียงพอต่อการใช้งาน