|
|
โอนข้อมูลจากโปรแกรมเงินเดือนและค่าแรงเข้าโปรแกรมบัญชีแยกประเภท
Views: 11935 Last Updated: 06/07/2012 14:18 |
|
|
วิธีการโอนข้อมูล - ท่านจะต้องสร้างรหัสบัญชีต่าง ๆ ก่อนที่จะโอนข้อมูลจากโปรแกรมเงินเดือนและค่าแรง เข้าสู่
โปรแกรมบัญชีแยกประเภท ซึ่งโปรแกรมที่ท่านจะต้องสร้างรหัสบัญชี คือ โปรแกรมบัญชีแยกประเภทใน หัวข้อ Update / เพิ่มหรือแก้ไขผังบัญชี (ดังภาพที่ 1)
- รหัสที่ท่านต้องสร้างใหม่ คือ
รหัสบัญชีเงินเดือน (ให้อยู่หมวดทรัพย์สิน) สมมุติว่าเป็นเลขที่บัญชี 1001 รหัสบัญชีประกันสังคมค้างจ่าย (ให้อยู่ในหมวดหนี้สิน) สมมุติว่าเป็นเลขที่บัญชี 2000 รหัสบัญชีภาษีหัก ณ. ที่จ่ายค้างจ่าย (ให้อยู่ในหมวดหนี้สิน) สมมุติว่าเป็นเลขที่บัญชี 2001 รหัสบัญชีเงินเดือน (ให้อยู่ในหมวดค่าใช้จ่าย) สมมุติว่าเป็นเลขที่บัญชี 5002 รหัสบัญชีประกันสังคม (ให้อยู่ในหมวดค่าใช้จ่าย) สมมุติว่าเป็นเลขที่บัญชี 5003
- หลังจากกำหนดรหัสบัญชีในโปรแกรมบัญชีแยกประเภทแล้ว ขั้นตอนต่อไปที่ท่านจะต้องกำหนด คือ
ที่โปรแกรมเงินเดือนและค่าแรง ในหัวข้อ Update / รหัสบัญชีที่โอนเข้าสู่ GL /รหัสบัญชีสำหรับระบบ (ดังภาพที่ 2)
เงินเดือนและค่าแรง (หมวดสินทรัพย์) ให้ใส่เลขที่บัญชีเป็น 1001 (ตามที่กำหนดไว้ในข้อ 2) เงินประกันสังคม (หมวดใช้จ่าย) ให้ใส่เลขที่บัญชีเป็น 5003 (ตามที่กำหนดไว้ในข้อ 2)
- จากนั้นให้ไปที่หัวข้อ Update / รหัสบัญชีที่โอนเข้าสู่ GL / รายได้/รายหัก (ดังภาพที่ 3)
- ให้ใส่รหัสบัญชีแยกประเภทที่เป็นค่าใช้จ่ายที่ได้สร้างไว้ในโปรแกรมบัญชีแยกประเภท เช่น (ดังภาพที่ 4)
เงินเดือน รหัสบัญชีที่สร้างไว้คือ 5002 (เป็นค่าใช้จ่าย) ภาษีหัก ณ. ที่จ่าย รหัสบัญชีที่สร้างไว้คือ 2001 (เป็นหนี้ค้างจ่าย ยังไม่ได้นำส่งสรรพากร) เงินประกันสังคม รหัสบัญชีที่สร้างไว้คือ 2000 (เป็นหนี้ค้าจ่าย ยังไม่ได้นำส่งสรรพากร)
- เมื่อได้โอนข้อมูลจากโปรแกรมเงินเดือนและค่าแรงเข้าโปรแกรมบัญชีแยกประเภท หน้าจอจะแสดงรายการ
ดังนี้ เช่น สมุมติว่า เงินเดือนพนักงาน 25,000 บาท หักภาษี ณ. ที่จ่าย 227.50 บาท หักประกัน สังคม 450 บาท และนายจ้างจ่ายสมทบเงินประกันสังคม 450 บาท ซึ่งหมายถึงว่าพนักงานจะได้รับเงิน ทั้งหมดหลังจากหัก ภาษีเงินได้และประกันสังคมแล้วคือ 24,322.50 บาท
DR. เงินเดือนพนักงาน ( ที่เป็นคชจ. รหัสบัญชี 5002) 25,000 CR. เงินเดือน (ที่เป็น ท/ส รหัสบัญชี 1001) 25,000
DR. เงินเดือน (ที่เป็น ท/ส รหัสบัญชี 1001) 450 CR. เงินประกันสังคมค้างจ่าย (หักจากพนักงานแต่ยังไม่ได้นำส่ง) 450
DR. เงินประกันสังคมที่นายจ้างสมทบให้ (เป็น คชจ. รหัสบัญชี 5003) 450 CR. เงินประกันสังคมค้างจ่าย (ยังไม่ได้นำส่ง รหัสบัญชี 2000) 450
DR. เงินเดือน (ที่เป็นท/ส รหัสบัญชี 1001) 227.50 CR. ภาษี หักณ.ที่จ่ายค้างจ่าย(ที่หักจากพนักงานแต่ยังไม่ได้นำส่ง) 227.50
หมายเหตุ : การโอนข้อมูลจากโปรแกรมเงินเดือนและค่าแรงเข้าสู่โปรแกรมบัญชีแยกประเภท จะยังไม่ใช่เป็นการตัดจ่ายเงินออกจากบัญชีของบริษัท เพียงแต่เป็นการโอนค่าใช้จ่ายที่เป็นเงินเดือนของพนักงานมาเข้าเท่านั้น เมื่อท่านต้องการตัดเงินออกจากบัญชีในกิจการท่าน จะต้องทำการจ่ายเงินอีกครั้งในระบบบัญชีแยกประเภท หรืออาจจะทำจ่ายจากโปรแกรมเจ้าหนี้และค่าใช้จ่ายก็ได้
- ถ้าในกรณีที่ท่านใช้โปรแกรมเจ้าหนี้และค่าใช้จ่ายด้วย และต้องการตัดเงินที่จ่ายให้กับพนักงานออกจาก
บัญชีบริษัทโดยบันทึกรายการผ่านโปรแกรมเจ้าหนี้และค่าใช้จ่าย ท่านจะต้องเข้าไปกำหนดในโปรแกรม เจ้าหนี้และค่าใช้จ่าย สิ่งที่จะต้องกำหนด คือ ให้สร้างรหัสเจ้าหนี้ขึ้นมา 1 รหัส เพื่อใช้ในการบันทึก ค่าใช้จ่ายที่เป็นเงินเดือนในหัวข้อ Update / เพิ่มหรือแก้ไขแฟ้มเจ้าหนี้ เช่น รหัส S0789 (ดังภาพที่ 5)
- เมื่อต้องการบันทึกรายการจ่ายเงินออกก็ให้บันทึกรายาการที่หัวข้อ Edit / บันทึกรายการประจำวัน (ดังภาพที่ 6)
ให้เลือกเลือกรายการเงินสด หรือ เช็คตามที่ตัดจ่ายเงินออก รหัสเจ้าหนี้ให้ใส่เป็น S0789 ตามที่สร้างไว้ เมื่อบันทึกรายการถึงรหัสบัญชีแยกประเภท รหัสบัญชีเป็น 1001 (เงินเดือนที่เป็นทรัพย์สิน) ยอดเงินเท่ากับยอดที่จ่ายให้กับพนักงานจริง ๆ คือ 24,322.50 บาท (ดังภาพที่ 7) ในช่องภาษีมูลค่าเพิ่ม 7 % ให้ลบออก
- ถ้าต้องการนำส่งเงินภาษี หัก ณ. ที่จ่ายที่หักจากพนักงาน และส่งเงินประกันสังคมที่หักจากพนักงาน ให้กับกรมสรรพากร และสำนักงานประกันสังคมโดยบันทึกรายการผ่านโปรแกรมบัญชีแยกประเภท
|
|
|